เหล็กเส้นมีกี่ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง

 

1. เหล็กเส้นกลม (Round Bars : RB)

เหล็กเส้นกลม คือ เหล็กเส้นสำหรับงานก่อสร้าง หรือเรียกสั้นๆว่า RB เหล็กขนาด 6 มม. และ 9มม. มักถูกใช้เป็นเหล็กปลอกในคาน หรือในเสา ส่วนเหล็กขนาด 12มม. ขึ้นไป มักจะถูกใช้ในงานเสริมคอนกรีตโดยแบ่งออกได้ดังนี้

  • RB6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) เหล็กเส้นกลมใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้ทำปลอกเสา และปลอกคานเหล็กในงานโครงสร้าง เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย
  • RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) เหล็กเส้นกลมใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้นกลม 2 หุน
  • RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) เหล็กเส้นกลมใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน็อตต่าง ๆ
  • RB19 เหล็กเส้นกลมใช้สำหรับงานทำถนน
  • RB25 เหล็กเส้นกลมใช้ทำเป็นเหล็กสตัท เกลียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี

มาตรฐานของเหล็กเส้นกลม

ตามมาตรฐาน มอก. 24-2559 กำหนดให้เหล็กเส้นกลมที่มีชั้นคุณภาพ SR24 ซึ่งหมายถึงเหล็กต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 2,400 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ขนาดของเหล็กมีตั้งแต่ 6มม. ถึง 25 มม. ส่วนความยาวมาตรฐานคือ 10 ม. และ 12ม. หรือสามารถสั่งดัดพิเศษตามแบบที่ต้องการได้ เหล็กขนาด 6มม. และ 9มม. มักถูกใช้เป็นเหล็กปลอกในคานหรือในเสา ส่วนเหล็กขนาด 12มม. ขึ้นไป มักจะถูกใช้ในกงาน เหล็กเสริมแกนในงานคอนกรีต

2. เหล็กเส้นข้ออ้อย

เหล็กเส้นข้ออ้อยตามมาตรฐาน มอก. 24-2559 คือ เหล็กเส้นกลมที่มีบั้งเพื่อเสริมกำลังยึดระหว่างเนื้อคอนกรีตกับเหล็ก ใช้สำหรับงานก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการความแข็งแรง เช่นการก่อสร้างอาคารสำนักงาน, อาคารสูง, คอนโดมิเนียม, ถนนคอนกรีต, สะพาน, เขื่อน เป็นต้น เหล็กข้ออ้อยนั้น มีการแบ่งประเภทตามชั้นคุณภาพของเหล็ก โดยมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ

  • SD30, SD30T คือเหล็กที่มีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
  • SD40, SD40T คือเหล็กที่มีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
  • SD50, SD50T คือเหล็กที่มีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 5,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร