เหล็กข้ออ้อยที่มี “T” คือเหล็กข้อ้อยที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อน(heat treatment rebar หรือ temp-core rebar) โดยการนำเหล็กที่ได้มาทำให้เย็นด้วยการฉีดสเปรย์น้ำ ทำให้ผิวเหล็กแข็ง แต่ภายในเนื้อเหล็กจะค่อยๆเย็นตัวลง มีผลให้เหล็กข้ออ้อยที่ได้มานี้ไม่ต้องปรุงแต่งส่วนผสมเหล็ก และทำให้มีธาตุ Carbon และ Manganese น้อยกว่าเหล็กข้ออ้อยทั่วไป
สรุปด้วยกรรมวิธีทางความร้อน(heat treatment rebar หรือ temp-core rebar) กระบวนการนี้ทำให้ความแข็งแรงของเหล็กแตกต่างกัน โดยการผลิตเหล็กข้ออ้อยที่มี “T” นั้น จะทำให้ภายในเนื้อเหล็ก นั้นมีความนิ่มและสามารถยืดหยุ่นได้ดี แต่จะทำให้ผิวภายนอกของเหล็กแข็งกว่าภายใน ทำให้การทำเกลียว การดัดงอ อาจทำให้ผิวเหล็กข้ออ้อยแตกได้
เพราะฉะนั้นสัญลักษณ์ตัว T จึงเป็นการบ่งบอกถึงกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันนั่นเอง แต่ในเรื่องคุณสมบัติของตัวเหล็กเส้นแล้วนั้น จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การรับแรงดึง ความยืดหยุ่น การดัด ความทนทานไฟ รวมไปถึงการต่อเหล็กข้ออ้อยและการต่อทาบ แต่หากพูดถึงในเรื่องของการต่อเชื่อมนั้น ในตัวเหล็กข้ออ้อยที่มีตัว “T” จะมีธาตุผสมที่น้อยกว่า จึงเป็นตัวที่ส่งผลให้สามารถเชื่อมต่อเหล็กข้ออ้อยได้ง่ายกว่า เหล็กข้ออ้อยที่ไม่มี “T” นั่นเอง
การยอมรับจากหน่วยงานราชการ
ปัจจุบันนี้ หน่วยงานราชการทุกๆหน่วยงาน ยกเว้นกรมทางหลวง ได้มีการยอมรับเหล็กข้ออ้อยที่ไม่มี “T” เนื่องจากเหล็กที่ใช้ในงานถนนนั้น มีเรื่องการล้า (Fatigue) ของเหล็กเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งยังไม่มีการยืนยันถึงคุณสมบัติในด้านความทนทานการล้าของเหล็กที่มี “T” ดังนั้น ผู้รับเหมาที่รับงานถนนก็ยังคงต้องหาเหล็กข้ออ้อยที่ไม่มี “T” รอให้ทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยยืนยันคุณสมบัติของเหล็ก ส่วนการนำไปใช้งานกับภาคเอกชนอื่นๆนั้น ผู้ดูแลด้านการออกแบบและผู้ดูแลด้านการให้คำปรึกษาส่วนใหญ่เข้าใจและยอมรับด้านคุณสมบัติของเหล็กข้ออ้อยที่มี “T” แล้วนำไปใช้งานแล้วในหน่วยงาน